Monday, February 27, 2012



วีดีโอ

ความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา


        ลักษณะของความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬาคือ จะแพ้ หรือชนะไม่สำคัญ ข้อสำคัญคือ
ได้มีส่วนร่วมในการแข่งขัน และได้ทำการแข่งขันอย่างเต็มความสามารถ เชื่อฟังผู้ตัดสิน
ไม่ฝ่าฝืนกฏกติกาของการเล่น รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย ฯลฯ ซึ่งมีหลักการปฏิบัติเพื่อแสดง
ความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา คือ
๑. ปฏิบัติตามกฏกติกาของการเล่น
๒. ซื่อสัตย์สุจริตต่อคู่แข่งขัน และเพื่อนฝูง
๓. เป็นผู้รู้จักข่มใจ รักษาสติไม่ให้โมโหโทโส
๔. เป็นผู้ที่รักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ
๕. หากปราชัยก็ทำใจให้หนักแน่น
๖. หากมีชัยก็ไม่แสดงความภูมิใจจนออกนอกหน้า
๗. เป็นผู้ที่ผุดผ่องทั้งกาย วาจา ใจ อยู่เสมอ
๘. เล่นกีฬาเพื่อชั้นเชิงของการกีฬา ไม่ใช่เล่นกีฬาเพื่อจะทะเลาะวิวาทกัน
๙. เป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผือแผ่

๑๐.เป็นผู้สุภาพอ่อนโยน
๑๑.เป็นผู้มีใจคอกว้างขวาง
๑๒.เป็นผู้มีความอดทน กล้าหาญ
๑๓.เป็นผู้มีความเชื่อฟังและเคารพต่อเหตุผล
๑๔.เป็นผู้รักษาความยุติธรรม
๑๕.เป็นผู้รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย

ความปลอดภัยในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล


          การเล่นกีฬาทุกประเภทย่อมก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ  อารมณ์
และสังคมอย่างแน่นอน ส่วนจะเกิดการพัฒนาหรือผู้เล่นกีฬาจะได้รับประโยชน์มาก
หรือน้อย นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับเกมกีฬา  วิธเล่น  ระยะเวลา ของการเล่นกีฬา  และปัจจัยอื่น
หลายประการ แต่อย่างไร ก็ตามการเล่นกีฬาที่ไม่เหมาะสมกับสภาพของร่างกาย สุขภาพ
 อนามัย  กาลเทศะ  หรือความพอดีใน การออกกำลังกายแล้วอาจก่อให้เกิดอันตราย
ขึ้นได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ การเล่นกีฬาจึงควรได้พิจารณาเกี่ยวกับหลักความปลอดภัย
ในหลาย ๆ ด้าน  สำหรับการเล่นกีฬาวอเลย์บอลให้ปลอดภัย  ควรปฏิบัติดังนี้

     ๑.   ก่อนเล่นกีฬาวอลเลย์อลทุกครั้งต้องอบอุ่นร่างกายเสียก่อน  โดยเฉพาะข้อมือ
                   ข้อเท้า เข่า  ฯลฯ  ให้มาก
     ๒.   ต้องแต่งกายชุดเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
     ๓.   ต้องตรวจสอบอุปกรณ์และสนามให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย  มั่นคงแข็งแรง
            พร้อมที่จะฝึกซ้อมได้
     ๔.   ต้องเล่นด้วยความระมัดระวัง  และเล่นตามหลักการและวิธีการของการเล่น
             กีฬาวอลเลย์บอล
     ๕.   ไม่ล้อเลียนหรือกลั่นแกล้งกันในขณะฝึกซ้อม
     ๖.   ไม่เล่นหรือฝึกซ็อมจนเกินกำลังความสามารถของร่างกายและไม่เล่นหักโหม
     ๗.   ควรจะฝึกจากท่าที่ง่ายไปหาท่าที่ยากขึ้นและฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป
     ๘.   ไม่ควรฝึกซ้อมในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ  เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ง่าย
     ๙.   ไม่ควรฝึกซ้อมในสนามกลางแจ้งในขณะที่มีฝนตก ฟ้าร้อง หรือแดดร้อนจัด
    ๑๐.  ไม่ควรฝึกซ้อมหรือเล่นวอลเลย์บอลหลังอิ่มอาหารใหม่ ๆ

การบำรุงรักษาอุปกรณ์กีฬาวอลเลย์บอล


          อุปกรณ์การเล่นวอลเลย์บอลควรได้รับการดูแลและเก็บรักษาให้ดี เพื่อให้มี
ประสิทธิภาพในการใช้งานให้ นานที่สุด เพื่อความประหยัดและเป็นการปลูกฝัง
ให้ผู้เล่นเกิดนิสัยรักความมีระเบียบ โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
๑. มีชั้นหรือตู้เก็บอุปกรณ์ไว้โดยเฉพาะ และควรเก็บแยกประเภทให้เรียบร้อยเพื่อ
     สะดวกในการนำมาใช้
๒. อุปกรณ์ที่ชำรุด เช่น ส่วนหนึ่งส่วนใดของตาข่ายขาดให้รีบซ่อมแซมทันที การปล่อย
     ทิ้้งไว้จะทำให้ เสียหาย มากขึ้น
๓. อย่าขึงตาข่ายไว้กลางแจ้งให้ถูกแดดฝนเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ตาข่าย
     ชำรุดเสียหายอายุการใช้งาน ไม่นานเท่าที่ควร
๔. อย่าให้ลูกวอลเลย์บอลที่ทำด้วยหนังถูกน้ำนาน ๆ เพราะจะเป็นการเพิ่มน้ำหนัก
     ให้มากขึ้น ควรใช้ผ้าเช็ดให้แห้งทันทีก่อนที่จะนำลูกบอลมาเล่นต่อไป
๕. ทำความสะอาดลูกบอลทุกครั้งด้วยการใช้ผ้าแห้งเช็ด ก่อนที่จะนำไปเก็บ
๖.  การสูบลมหรือปล่อยลมออกจากลูกบอลควรใช้เข็มที่ใช้กับลูกวอลเลย์บอลโดยเฉพาะ
     ถ้าใช้ของแหลมชนิดอื่นจะทำให้ลูกวอลเลย์บอลชำรุดได้ง่าย
๗. หมั่นเช็ด กวาด ถู พื้นสนามเล่นให้สะอาดอยู่เสมอ
๘. อย่าสูบลมให้ลูกวอลเลย์บอลแข็งจนเกินไป จะทำให้หนังของลูกวอลเลย์บอลปริ
     มีอายุ การใช้งานน้อย
๙. หลังจากเล่นกีฬาวอลเลย์บอลเสร็จแล้วต้องผ่อนตาข่ายที่ขึงตึง ให้หย่อนลง

มารยาทของผู้ชมกีฬาวอลเลย์บอลที่ดี


      วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการดูกีฬาก็เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ หาความสนุกสนาน
เพลิดเพลิน ช่วย คลายความตึงเครียด และเป็นการเสริมสมรรถภาพทางด้านจิตใจ
ให้มีความสุข ผู้ดูกีฬาที่ดีต้องทำใจให้ได้ว่า แพ้หรือชนะก็ตาม ต้องไม่แสดงพฤติกรรม
หรือกริยามารยาท ที่ไม่สุภาพเรียบร้อยทั้งคำพูด หรือท่าทาง ซึ่งอาจเป็นเหตุก่อให้เกิด
การทะเลาะวิวาท ดังนั้นผู้ดูกีฬาที่ดีพึงปฏิบัติดังนี้
๑. แสดงความยินดีด้วยการปรบมือให้แก่ผู้เล่นที่เล่นดี มีมารยาทดี
๒. ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการเสียดสีในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง
๓. ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น การตะโกนด่าว่าผู้ตัดสิน เป็นต้น
๔. ไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่ทำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก
๕. นั่งชมด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยในที่ที่จัดไว้ให้ ไม่ยืนเกะกะบังผู้อื่น
๖. ปรบมือให้เกียรติเมื่อกรรมการผู้ตัดสิน และนักกีฬาลงสู่สนาม
๗. ไม่กล่าวถ้อยคำ ส่งเสียงโห่ร้องหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด      หรือผู้ตัดสินตัดสินไม่เป็นไปตามความต้องการของตนเอง
๘. ปรบมือแสดงความยินดีแก่ผู้ชนะ ผู้เล่นที่ได้รับรางวัล
๙. ไม่แสดงกริยาท่าทาง ส่งเสียง ยั่วยุ ให้ผู้เล่น ไม่มีสมาธิหรือเกิดการทะเลาะวิวาท
๑๐.ไม่แสดงกริยาที่ไม่สุภาพ หรือใช้สิ่งของขว้างปานักกีฬา กรรมการตัดสิน หรือผู้ชม
๑๑. ควรรู้กติกาการแข่งขันกีฬาที่ตนดู
๑๒. การชมเป็นหมู่คณะควรจะนั่งรวมกันเป็นกลุ่ม และเชียร์ด้วยเพลง และภาษาที่สุภาพ
๑๓. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้ในการดูกีฬา
๑๔. ช่วยห้ามปรามหรือตักเตือนเพื่อนฝูง ไม่ให้ก่อเหตุวุ่นวายขึ้ในการดูกีฬา
๑๕. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยเมื่อเกิดเหตุวุ่นวาย
       ในสนาม
๑๖. ติดตาม สนับสนุน ให้กำลังใจ และให้เกียรตินักกีฬาทุกประเภท เพื่อเป็นการส่ง        เสริมการกีฬาของชาติ

มารยาทของผู้เล่นกีฬาวอลเลย์บอลที่ดี

     
      การเล่นกีฬาทุกชนิดย่อมมีการแสดงออกถึงพฤติกรรมต่างๆ ทางด้านร่างกาย
ที่สอดคล้องกับ กติกาข้อบังคับ ระเบียบและลักษณะของกีฬา แต่ละประเภท ซึ่งผู้เล่น
จะต้องประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเหมาะสมกับจรรยานักกีฬา
จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้เล่นที่มีมารยาทดี หากผู้เล่นประพฤติปฏิบัติไม่เหมาะสม ไม่ถูก
ระเบียบกติกา จะทำให้ผู้ดูรอบสนามและผู้เกี่ยวข้องติเตียนได้ อีกทั้งเป็นสาเหตุ
ที่ก่อให้เกิดการทะเลาะ วิวาทขึ้น ดังนั้นผู้เล่นกีฬาวอลเลย์บอล ควรจะคำนึงถึง
มารยาทที่ดีดังนี้

๑. แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมกับการเล่นวอลเลย์บอล ในการแข่งขันนั้นผู้เล่นต้อง
    แต่งกายตามกติกา  แต่ในการเล่นทั่วไปเพื่อความสนุกสนานหรือเพื่อออกกำลังกาย
    ควรจะแต่งกายให้เหมาะสม     บางคนสวมรองเท้าแตะหรือแต่งชุดไปเที่ยวลงเล่น
    เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บระหว่างการเล่นได้
๒. ไม่แสดงกิริยาเสียดสีล้อเลียน หรือกล่าวถ้อยคำที่ไม่สุภาพต่อผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน
     หรือฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ชม
๓. เล่นตามกติกาที่กำหนดไว้ โดยปฏิบัติตามระเบียบกติกาการเล่นอย่างเคร่งครัด
๔. มีความสุภาพเรียบร้อย แสดงความเป็นมิตรและให้เกียรติแก่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
     ก่อนและ หลังการแข่งขันเสร็จสิ้นลงควรจับมือผู้เล่น ของทีมตรงข้ามไม่ว่าทีม
     จะแพ้หรือชนะก็ตาม
๕. ไม่โต้เถียงหรือแสดงกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้ตัดสินในการตัดสิน    
๖.  มีใจคอหนักแน่น อดทน อดกลั้น และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
     ถึงแม้ว่าผู้เล่นฝ่ายเดียวกันผิดพลาดก็ไม่ควรแสดงอาการไม่พอใจ
๗. เชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้าทีม และโค้ช
๘. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมาย
๙. รู้จักระงับอารมณ์ เมื่อเกิดการยั่วยุจากฝ่ายตรงข้าม
๑๐.เมื่อเล่นกีฬาแพ้หรือชนะไม่ควรดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
๑๑.การเล่นกีฬาต้องเล่นอย่างสุดความสามารถ ไม่ว่าตนเองจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะ
๑๒.ต้องมีน้ำใจนักกีฬารู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
๑๓.มีความตั้งใจในการฝึกซ้อม และมีความอดทน
๑๔.มีความอดกลั้นและไม่ใช้อารมณ์รุนแรง
๑๕.ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นในขณะฝึกซ้อมหรือแข่งขัน
๑๖. หลังจากการฝึกซ้อมหรือเล่นแล้วควรเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย

ประโยชน์ของการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

        การเล่นกีฬาเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าการออกกำลังกาย
เป็นยาขนานวิเศษ ดังคำกล่าวที่ว่า"กีฬา กีฬา เป็นยาพิเศษ"วอลเลย์บอลเป็นกีฬา
ที่ทำให้ผู้เล่นเกิดประโยชน์ดังนี้

     ๑. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ฝึกหัดเล่นให้เป็นได้ง่ายและเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เมื่อเล่น
วอลเลย์บอลเป็นแล้ว จะทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นกีฬาได้นานกว่ากีฬาบางประเภท ซึ่งคุ้ม
กับที่ได้ฝึกฝนมาแม้แต่สตรีที่มีบุตร แล้วหากมีร่างกายแข็งแรงก็สามารถเข้าร่วม
การแข่งขันได้เป็นอย่างดี


     ๒. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีม จึงต้องมีการฝึกซ้อมเพื่อให้การเล่นในทีม
มีความสัมพันธ์และรักใคร่ ปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากทีมใดขาด
ความสามัคคีแล้ว เมื่อลงแข่งขันย่อมจะมีชัยชนะได้ยาก ผลของการเล่นกีฬา
ประเภทนี้จึงสามารถ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้มีนิสัยรักใคร่สามัคคีกัน
ระหว่างหมู่คณะมากยิ่งขึ้น


     ๓. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยฝึกฝนให้ผู้เล่นมีไหวพริบที่ชาญฉลาดและแก้ปัญหา
อย่างฉับพลันทันที เพราะการเล่นวอลเลย์บอลนั้นผู้เล่นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกาย
อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีไหวพริบที่ดี สามารถตัดสินใจ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ต่าง ๆ ได้จึงจะทำให้มีชัยชนะในการเล่น


     ๔. การเล่นวอลเลย์บอลเป็นการส่งเสริมและฝึกให้ผู้เล่นมีจิตใจเยือกเย็น สุขุม
รอบคอบ อารมณ์มั่นคง มีสมาธิดี มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะผู้เล่นที่อารมณ์ร้อน
มุทะลุ ดุดัน เอาแต่ใจตนเอง จะทำให้การเล่น ผิดพลาดบ่อย ๆ ถ้าเป็นการแข่งขัน
ก็จะแพ้ ฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อตัวผู้เล่น
วอลเลย์บอล ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเอง
และสังคมอีกด้วย


     ๕. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นได้โดยไม่จำกัดเวลา ถ้าหากผู้เล่นรู้จักการใช้เวลาว่าง
ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจ จะเล่นตอนเช้า สาย บ่าย เย็นหรือแม้แต่ในเวลากลางคืนก็ได้
ถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ และเล่นได้ทั้งในที่ร่ม หรือกลางแจ้ง


     ๖. การเล่นวอลเลย์บอล ผู้เล่นต่างก็อยู่ในแดนของตนเองและมีตาข่ายขึงกั้นกลางสนาม
ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะปะทะกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย จึงไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท
กันขึ้น


     ๗. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้เล่นอย่างหนึ่ง เพราะผู้เล่น
จะต้องถูกฝึกให้มีระเบียบ มีวินัย มีเหตุมีผล รู้จักการเป็นผู้นำผู้ตาม และมีความ
รับผิดชอบในหน้าที่ของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการ ปลูกฝังนิสัย อันมีผล
ที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันด้วย


     ๘.วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีกฎกติกา ผู้เล่นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่น
ดังนั้นการเล่นวอลเลย์บอล ย่อมช่วยสอนให้ผู้เล่นรู้จักความยุติธรรม มีความอดทนอดกลั้น
รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น


     ๙. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย
ให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เพราะผู้เล่นจะต้องฝึกให้ร่างกายแข็งแรง มีความอดทน
มีความคล่องแคล่วว่องไว มีพลังและความเร็ว เมื่อร่างกายได้ออกกำลังกายแล้วยัง
ช่วยให้ ระบบต่างๆ ภายในร่างกายได้ทำงานประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีและ
มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายแข็งแรงก็จะช่วยเพิ่มความสามารถ ของร่างกาย
ให้มีความต้านทาน ได้ดีด้วย


     ๑๐. กีฬาวอลเลย์บอลเหมือนกับกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่สร้างความมีน้ำใจนักกีฬา
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรู้จักแพ้ ชนะและอภัย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการเป็น
สื่อกลาง ก่อให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยและมีสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกัน
ทั้งระหว่างภายในประเทศ และระหว่างประเทศได้อย่างดี


     ๑๑. ปัจจุบันผู้เล่นวอลเลย์บอลที่มีความสามารถสูง ยังมีสิทธิ์ได้เข้ามาศึกษาต่อ
ในระดับสูง บางสาขา บางสถาบัน ทั้งสถานการศึกษาของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมี
หลายหน่วยงาน รับบุคคลที่เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลเข้าทำงาน เพราะวอลเลย์บอลกำลัง
เป็นกีฬาที่นิยม ของวงการทั่วไปและมีการแข่งขันกันอยู่เป็นประจำ

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลนอกประเทศ

          กีฬาวอลเลย์บอลเริ่มขึ้นเมื่อปี ๒๔๓๘ โดยนายวิลเลียม จี มอร์แกน
(William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคมY.M.C.A.
(Young Men's Christian Association) เมืองฮอลโยค (Holyoke)
มลรัฐแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิด
เกมการเล่นขึ้น เนื่องจากในฤดูหนาวหิมะตกลงมา ู้คนทั่วไปไม่สามารถเล่นกีฬา
กลางแจ้งได้ เขาได้พยายาม คิดและดัดแปลง กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นกิจกรรม
นันทนาการผ่อนคลายความตึงเครียดให้เหมาะสมกับฤดูกาล ขณะที่เขาดูการแข่งขัน
เทนนิส เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิส
มาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้น
ประมาณ ๖ ฟุต ๖ นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและ
แขนตีโต้ ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางใน ของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป
ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้
้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลใหญ่ หนักและแข็งเกินไปทำให้มือของผู้เล่น
ได้รับบาดเจ็บ ในที่สุดเขาจึงให้ บริษัท A.G. Spalding and Brother Company
ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วย ยาง มีเส้นรอบวง ๒๕-๒๗ นิ้ว มีน้ำหนัก ๙-๑๒ ปอนด์
หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงตั้งชื่อเกมการเล่นนี้ว่า "มินโตเนต" (Mintonette)

         ปี พ.ศ ๒๔๓๙ มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์
(Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุม
หลังจากที่ประชุมได้ชมการสาธิต ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด
( Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโตเนต (Mintonette)
เป็น "วอลเลย์บอล" (Volleyball) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอล
ให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น

        ต่อมากีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชน
ชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเกมที่เล่นง่าย สามารถเล่นได้ตามชายทุ่ง
ชายหาด และตามค่ายพักแรมทั่วไป

         ปี พ.ศ ๒๔๗๑ ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ ( Dr.George J.Fisher )
ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกา การเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขัน
กีฬาวอลเลย์บอล ในระดับชาติ ซึ่งบุคคลผู้นี้เป็นผู้มีบทบาทอย่างมาก ในการเผยแพร่
กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล


       กีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีหลักฐานแน่ชัด
แต่สันนิษฐานว่าชาวไทย บางกลุ่มได้เริ่มเล่นและแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลมาตั้ง
แต่หลังสมัยสงครามโลก  ครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา

        ปี พ.ศ.๒๔๗๗ กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปี และบรรจุ
กีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก โดยใช้กติกาการเล่น
ระบบ ๙ คน และตั้งแต่นั้นกีฬาวอลเลย์บอลก็พัฒนาขึ้นโดยตลอด

        ปี พ.ศ ๒๕๐๐  ประเทศไทยได้จัดตั้งสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลขึ้น โดยมี
พลเอกสุรจิตร   จารุเศรณี เป็นนายกสมาคมคนแรก เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๐
และได้รับชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
" (Amature Volleyball Association of Thailand)  

        ปัจจุบันกีฬาวอลเลย์บอลได้นิยมเล่นกันอย่าง แพร่หลายทั้งในโรงเรียน วิทยาลัย
มหาวิทยาลัย และตามหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดการแข่งขัน มากมาย
หลายรายการ เป็นประจำทุกปี ดยการดำเนินงานของ สมาคมวอลเลย์บอล สมัครเล่น
แห่งประเทศไทยและ หน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ให้การสนับสนุน
เป็นอย่างดี

ประวัติวอลเลย์บอลในประเทศไทย

ประวัติวอลเลย์บอลในประเทศไทย

วอลเลย์บอล ได้แพร่หลายเข้ามาในไทย ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เพียงแต่ทราบกันว่าในระยะแรกๆ เป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวจีนและชาวญวนมาก จนกระทั่งมีการแข่งขันระหว่างคณะ ชุมชน สโมสร และสมาคมขึ้น บางครั้งติดต่อแข่งขันกันไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการแข่งขันชิงถ้วยทองคำทางภาคใต้
ปี พ.ศ. 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล และท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล แก่บรรดาครูพลศึกษาทั่วประเทศในโอกาสที่กระทรวงศึกษาได้เปิดอบรมขึ้น
ใน ปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางได้กำหนดวิชาบังคับให้นักเรียน หญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอล สมัยนั้นมี น.อ.หลวงสุภชลาศัย ร.น. ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดตั้ง "สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย" (Amature Volleyball Association of Thailand) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน มีหน่วยราชการอื่นๆ จัดการแข่งขันประจำปี เช่น กรมพลศึกษา กรมการคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัย เทศบาลนครกรุงเทพฯ สภากีฬาทหาร ตลอดจนการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิงประจำปีทุกปี

ความมุ่งหมายของกีฬาวอลเลย์บอล
1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล
2. เพื่อให้มีความสามารถในการเล่นทักษะเบื้องต้นต่างๆ ของกีฬาวอลเลย์บอลอย่างถูกต้อง
3. เพื่อให้มีควมสามารถในการเล่นทีมได้อย่างถูกต้องและฉลาด
4. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกติกาเกี่ยวกับการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
5. เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาร่างกาย จิตใจ สังคม และอารมณ์
6. เพื่อส่งเสริมให้มีนิสัยรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
7. ส่งเสริมให้เป็นคนมีน้ำใจนักกีฬา
8. เพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนาน และเพลิดเพลินในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
9. เพื่อปลูกฝังนิสัยให้รู้จักกการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

แนะนำอุปกรณ์วอลเลย์บอล


สนามแข่งขัน
สนาม แข่งขันควรจะเป็นพื้นดิน พื้นไม้หรือพื้นปูนซีเมนต์เรียบ และต้องเป็นพื้นแข็งเรียบไม่มีสิ่งกีดขวาง มีลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด กว้าง 18 ยาว 9 เมตร โดยมีบริเวณรอบๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 2 เมตร ถ้าเป็นสนามกลางแจ้งต้องมีบริเวณรอบๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 3 เมตร ความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปมีสิ่งกีดขวางหรือเพดาน อย่างน้อย 7 เมตร หากเป็นการแข่งระดับนานาชาติ ต้องมีบริเวณที่วางด้านข้างไม่น้อยกว่า 5 เมตร และบริเวณด้านหลังไม่น้อยกว่า 8 เมตรเพดานด้านบนสูงไม่น้อยกว่า 12.5 เมตร
เส้นเขตสนาม
เส้น ทุกเส้นต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนแตกต่างจากพื้นสนาม เส้นทั้งหมดนี้รวมอยู่ในสนามแข่งขัน กว้าง x ยาว เท่ากับ 9 x 18 เมตร
เส้นแบ่งแดน
เป็น เส้นที่แบ่งพื้นสนามแบ่ง ออกเป็น 2 ส่วน อยู่ตรงกึ่งกลางของสนามขนาดกลางจากจุดกึ่งกลางไปยังเส้นหลัง 9 เมตร เส้นจะอยู่ใต้ตาข่ายหรือตรงเสาตาข่ายพอดี
เส้นเขตแดน
1. เส้นเขตรุกและเขตรุก เขตรุกของแต่ละฝ่ายเป็นเขตที่กำหนดโดยเขตรุกกว้าง 3 เมตร คิดรวมกับความกว้างของเส้นด้วย เขตรุกจะลากขนานกับเส้นแบ่งแดนของสนาม และสมมติว่ามีความกว้างออกไปนอกเขตสนามโดยไม่มีกำหนด
2. เส้นเสิร์ฟและเขตเสิร์ฟ คือเส้นที่ลากยาว 15 เซนติเมตร สองเส้นจากปลายสุดของสนาม โดยเขียนให้ห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร ซึ่งเขียนจากปลายเส้นข้างด้านขวาหนึ่งเส้น และเข้าไปทางซ้ายด้านในของสนามห่างกัน 3 เมตรอีกหนึ่งเส้น
3. เขตเปลี่ยนตัว อยู่ที่เขตรุกทั้งสองฝ่ายที่อยู่ในแนวสมมุติเลยออกไปในเขตรอบสนามที่อยู่ทั้งสองด้านของโต๊ะผู้บันทึก

แสงสว่าง
แสงสว่างของสนามควรอยู่ที่ 500 - 1500 วัตต์
ตาข่าย
มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 9.50 เมตร ขึงอยู่ในแนวดิ่งเหนือจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามออกเป็น 2 ส่วน
แถบข้าง
ใช้ แถบสีขาวกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร ติดอยู่ที่ปลายตาข่ายแต่ละด้าน ตั้งให้ได้ฉากกับเส้นข้าง และอยู่ในแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน แถบนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย
เสาอากาศ
ทำด้วยหลอดใย แก้ว หรือวัตถุที่คล้ายกัน มีความยาว 1.80 เมตรเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทาสีขาวสลับแดงเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงห่างกัน 10 เซนติเมตร เสาอากาศมี 2 เสา แต่ละเสาผูกติดกับขอบตาข่ายนอกสุดตรงกับแถบเส้นข้างของตาข่าย โดยให้ยื่นขึ้นไปเหนือตาข่าย 80 เซนติเมตร
ความสูงของตาข่าย
ได้แก่ ตาข่าย ของทีมชายสูงจากพื้น 2.43 เมตร ทีมหญิงจะสูงจากพื้น 2.24 เมตร วัดที่จุดกึ่งกลางของสนาม
เสาขึงตาข่าย
ควร จะมีลักษณะกลมหรือเรียบทั้ง 2 เสาซึ่งสามารถปรับระดับได้ มีความสูง 2.55 เมตร เพื่อรองรับปลายสุดของตาข่ายแต่ละด้าน เสาขึงจะต้องยึดติดกับพื้น ห่างจากเส้นข้างอย่างน้อย 50 - 100 เซนติเมตร ห้ามใช้ลวดหรือโลหะเป็นตัวยึดตาข่ายกับเสาเพราะจะเป็นอันตราย


ลูกบอล
ลูก บอลจะต้องมีลักษณะกลม ทำด้วยหนังฟอกที่ยืดหยุ่นได้ มียางในทำด้วยยางหรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน ต้องมีสีที่สว่าง เส้นรอบรูป 65 - 67 ซม. มีน้ำหนัก 260 - 270 กรัม แรงอัด 0.400-0.450 กรัม/ตร.ซม.
ใช้ลูกบอล 3 ลูก
การ แข่งขันระหว่างชาติ ควรใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีคนคอยเก็บลูกบอลให้ 6 คน ซึ่งอยู่ที่มุมเขตสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และด้านหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน
ผู้เข้าร่วมแข่งขัน
ใน 1 ทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน แพทย์ 1 คนนักกีฬาลงแข่งขันตลอดเวลา 6 คน
เครื่องแต่งกาย
ใช้กางเกงขา สั้น เสื้อยืดแขนยาวหรือแขนสั้น ถุงเท้า จะต้องสะอาด และแบบเดียวกัน สีเดียวกันทั้งทีม รองเท้าเป็นยางหรือหนังไม่มีเส้น ในการแข่งขันระดับโลก รองเท้าจะต้องมีสีเดียวกัน (ยกเว้นเครื่องหมายการค้า) ติดหมายเลขเรียงกันตั้งแต่ 1 - 12 เบอร์ติดที่กลางหน้าอกมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร และกลางหลัง มีความสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร อนุญาตให้เปลี่ยนเสื้อขณะแข่งขันได้แต่ต้องเป็นหมายเลขเดิม
รูปแบบการแข่งขัน
ทีม ที่ทำได้ 25 คะแนนและต้องมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน จะเป็นทีมที่ชนะในเซตนั้น ใน กรณีที่ได้ 24 คะแนนเท่ากัน จะแข่งขันต่อไปจนกว่าทีมใดหนึ่งจะมีคะแนนนำทีมฝ่ายตรงข้าม 2 คะแนน เช่น 26 : 24 หรือ 27 : 25 เป็นต้น

แนะนำการดูวอลเลย์บอล

วอลเลย์บอล เป็นกีฬาที่เล่นโดยทีม 2 ทีมบนสนามที่แบ่งแดนด้วยตาข่าย ลักษณะการเล่นอาจแตกต่างกันได้ตามสภาพที่จำเป็นเพื่อให้ทุกคนเล่นกันได้แพร่ หลาย กีฬาชนิดนี้จัดเป็นกีฬานันทนาการที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 3 ของโลก
จุดมุ่งหมายของการแข่งขันก็คือ การส่งลูกข้ามตาข่ายให้ตกลงบนพื้นที่ในแดนของทีมตรงข้าม และป้องกันไม่ให้ทีมตรงข้ามส่งลูกข้ามตาข่ายมาตกบนพื้นที่ในเขตแดนของตน แต่ละทีมจะสัมผัสลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ในการส่งลูกบอลไปยังแดนของทีมตรงข้ามสัมผัสบอลแค่ครั้งเดียวก็ได้ โดยปกติแล้วการสัมผัสลูกบอลครั้งแรกก็คือ การรับลูก เสิร์ฟ จากฝ่ายตรงข้าม ครั้งที่ 2 คือ การ set บอลขึ้นบนอากาศ เพื่อให้ครั้งที่ 3 ซึ่งปกติจะใช้ตบลูกบอลทำได้อย่างสะดวก
การเล่นจะเริ่มต้นเมื่อทำการ เสิร์ฟ ลูกบอล โดยผู้เสิร์ฟ ส่งลูกบอลข้ามตาข่ายไปยังทีมตรงข้าม การเล่นจะดำเนินไปจนลูกบอลตกลงบนพื้นในเขตสนามหรือนอกเขตสนาม หรือทีมไม่สามารถส่งลูกกลับไปยังทีมตรงข้ามได้อย่างถูกต้องตามกติกา
ส่วน การนับคะแนนนั้น การแข่งขัน วอลเลย์บอล จะมีการได้คะแนนทุกครั้งที่มีการเล่นลูกถ้าฝ่ายรับลูกเสิร์ฟ ชนะการเล่นลูกนั้นก็จะได้สิทธิทำการเสิร์ฟ และผู้เล่นทั้งหมดต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา 1 ตำแหน่ง
จะมีผู้เล่นอยู่ใน ทีมๆละอย่างมาก 12 คน และอย่างน้อย 6 คน แต่จะลงสนามได้ทีมละ 6 คน ผู้เล่นทั้ง 6 คน ในสนามอาจจะเล่นตลอดเกมหรืออาจเปลี่ยนตัวได้ตลอด ผู้เล่นที่เป็นผู้เสิร์ฟจะเป็นตำแหน่งหลังขวาสุด ซึ่งตำแหน่งของผู้เล่นทุกคนจะไม่สามารถเปลี่ยนได้ตามใจชอบ แต่จะต้องหมุนเวียนแบบทวนเข็มนาฬิกาเมื่อได้สิทธิเปลี่ยนเสิร์ฟ ยกเว้นก็ต่อเมื่อขณะที่กำลังเล่นลูกอยู่ นอกจากนี้ในส่วนของนักกีฬา ยังมีผู้เล่นตัวรับอิสระ (Libero player) ซึ่งเป็นผู้เล่น 1 ใน 12 คน แต่สวมเสื้อที่มีหมายเลขและสีแตกต่างจากผู้เล่นคนอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด สามารถเปลี่ยนตัวไปแทนผู้เล่นที่อยู่ในแดนหลังได้เมื่อลูกตายและก่อนที่ผู้ ตัดสินจะเป่านกหวีดให้ทำการเสิร์ฟ โดยไม่นับเป็นการเปลี่ยนตัวเข้าออกปกติ
สำหรับ ผู้ตัดสินวอลเลย์บอล จะมี 2 คน คือ ผู้ตัดสินที่ 1 จะทำหน้าที่ชี้ขาดอยู่บนเก้าอี้ตัดสิน และผู้ตัดสินที่ 2 อยู่ด้านล่างตรงข้ามกับผู้ตัดสินที่ 1 ขณะเดียวกันจะมีผู้กำกับเส้นอีก 4 คน
การ นับคะแนน แรลลี่พอยต์ หรือนับทุกลูกที่ลูกตาย จากเซ็ตที่ 1 ถึง เซ็ตที่ 4 กรณีที่เล่น 3 ใน 5 ฝ่ายเสิร์ฟ เล่นลูกจะนับทีละ 1 คะแนน แต่ถ้าฝ่ายเสิร์ฟทำเสียหรือฟาวล์ จะเสียคะแนนและจะต้องเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเล่น โดยนับคะแนนลักษณะเดียวกัน จนกว่ามีทีมใดได้ครบ 25 คะแนนก่อน เป็นทีมชนะในเซ็ตนั้น หลังจากนั้นเริ่มต้นเล่นกันใหม่ จนกว่าจะรู้ผลแพ้ชนะซึ่งโดยปกติจะแข่งกันหาผู้ชนะ 3 ใน 5 เซต
การแข่ง ขันในเซตตัดสิน (เซตที่ 3 หากแข่งขันระบบ 2 ใน 3 หรือ เซตที่ 5 ในระบบ 3 ใน 5 จะแข่งขันแบบแรลลี่พอยต์ หรือนับแต้มทุกแต้มที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำลูกเสีย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟหรือไม่ก็ตาม ฝ่ายใดทำลูกเสียหรือผิดกติกา จะเสียแต้มและเสียสิทธิเสิร์ฟด้วย เซตนี้จะเกมที่ 15 แต้ม ไว้แต่มีกรณีดิวส์ จะต้องมีแต้มห่างกัน 2 แต้ม
นอกจากนี้ยังมีกติกา เบื้องต้นบางอย่างที่ควรรับรู้ เช่น ตำแหน่งการเสิร์ฟ ได้เปลี่ยนใหม่ นักกีฬาสามารถเสิร์ฟจุดใดก็ได้ โดยจะต้องไม่เหยียบเส้นหลังสนามเท่านั้น
ใน ส่วนของผู้ฝึกสอน ปัจจุบันอนุญาตให้ผู้ฝึกสอนเพียงคนเดียว ยืน เดิน และให้คำแนะนำแก่นักกีฬาได้ที่บริเวณด้านหน้าม้านั่งในแดนตัวเองระหว่างเส้น เขตรุก ถึงเขตอบอุ่นร่างกาย โดยไม่ถือเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสิน

กติกาวอลเลย์บอล

กติกาวอลเลย์บอล



กติกาวอลเลย์บอล
สนามแข่งขัน
สนามแข่งขันควรจะเป็นพื้นดิน พื้นไม้หรือพื้นปูนซีเมนต์ (เรียบ) และต้องเป็นพื้นแข็งเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร โดยมีบริเวณรอบ ๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 2 เมตร ถ้าเป็นสนามกลางแจ้งต้องมีบริเวณรอบ ๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 3 เมตร ความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปมีสิ่งกีดขวางหรือติดเพดานอย่างน้อย 7 เมตร หากเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ บริเวณรอบสนามต้องห่างไม่น้อยกว่า 5 เมตร จากเส้นข้าง และ 8 เมตร วัดจากเส้นหลัง ความสูงของเพดาน หรือสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 12.5 เมตร และสนามต้องเป็นพื้นไม้ หรือพื้นสังเคราะห์อื่น ๆ ได้ แต่ต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลบอลนานาชาติ (I.V.B.F)
เส้นเขตสนาม (Boundary lines) เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนแตกต่างจากสีพื้นสนาม เส้นทั้งหมดนี้รวมอยู่ในสนามแข่งขัน กว้าง x ยาว เท่ากับ 9 x 18 เมตร
เส้นแบ่งแดน (Center line) เป็นเส้นที่แบ่งพื้นสนาม ออกเป็น 2 ส่วน ยู่ตรงกึ่งกลางของสนามขนาดกว้างจากจุดกึ่งกลางสนามไปยังเส้นหลัง 9 เมตร เส้นจะอยู่ใต้ตาข่ายหรือตรงเสาตาข่ายพอดี
เส้นเขตแดน (Zone lines)
    1. เส้นเขตรุกและเขตรุก เขตรุกแต่ละฝ่ายเป็นเขตที่กำหนดโดยเขตรุกกว้าง 3 เมตร คิดรวมกับความกว้างของเส้นด้วย เขตรุกจะลากขนานกับเส้นแบ่งแดนของสนาม และสมมติว่ามีความยาวออกไปนอกกเขตสนามโดยไม่มีกำหนด
    2. เส้นเสิร์ฟและเขตเสิร์ฟ คือ เส้นที่ลากยาว 15 เซนติเมตร สองเส้นจากปลายสุดของสนาม โดยเขียนให้ห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร ซึ่งเขียนจากปลายเส้นข้างด้านขวาหนึ่งเส้น และเข้าไปทางซ้ายด้านในของสนามห่างกัน 3 เมตรอีกหนึ่งเส้น
    3. เขตเปลี่ยนตัว อยู่ที่เขตรุกของทั้งสองฝ่ายที่เป็นแนวสมมติเลยออกไปในเขตรอบสนามที่อยู่ทั้งสองด้านของโต๊ะผู้บันทึก
แสงสว่าง (Light) แสงสว่างในสนามควรอยู่ระหว่าง 500 – 1,500 วัตต์
ตาข่ายและเสาขึงตาข่าย
ตาข่าย (Net) มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 เมตร ขึงอยู่ในแนวดิ่งเหนือจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามออกเป็น 2 ส่วน
แถบข้าง (Side Bands) ใช้แถบสีขาวก้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร ติดที่ปลายตาข่ายแต่ละด้าน ตั้งให้ได้ฉากกับเส้นข้าง และอยู่ในแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน แถบข้างนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย
เสาอากาศ (Antennas) ทำด้วยหลอดใยแก้ว หรือวัตถุที่คล้ายกัน มีความยาว 1.8 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทาสีขาวสลับแดงเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงห่างกัน 10 เซนติเมตร เสาอากาศมี 2 เสา แต่ละเสาผูกติดกับขอบตาข่าย นอกสุดตรงกับแถบเส้นข้างของตาข่าย โดยให้ยื่นไปเหนือตาข่าย 80 เซนติเมตร
ความสูงของตาข่าย (Height of the Net) ความสูงตาข่ายของนักกีฬาชาย 2.43 เมตร และนักกีฬาหญิง 2.24 เมตร โดยวัดที่กึ่งกลางสนาม
เสาขึงตาข่าย ควรจะมีลักษณะกลมและเรียบทั้งสองเสา ซึ่งสามารถปรับระดับได้ มีความสูง 2.55 เมตร เพื่อรองรับปลายสุดของตาข่ายแต่ละด้าน เสาขึงต้องยึดติดอยู่กับพื้น ห่างจากเส้นข้างอย่างน้อย 50 – 100 เซนติเมตร ห้ามใช้ลวดหรือโลหะเป็นตัวยึดตาข่ายกับเสาเพราะจะเป็นอันตราย
ลูกบอล
ลูกบอลต้องมีลักษณะกลม ทำด้วยหนังฟอกที่ยืดหยุ่นได้ มียางในทำด้วยยางหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน สีต้องเป็นไปตามแบบและเป็นสีอ่อน (สีขาว) ขนาดเส้นรอบวงระหว่าง 6.5 – 6.7 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 260 – 270 กรัม แรงอัดระหว่าง 0.40 – 0.45 กก./ตร.ซม.
การใช้ลูกบอล 3 ลูก
การแข่งขันระหว่างชาติ ควรใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีผู้คอยเก็บลูกบอลส่งให้ 6 คน ซึ่งอยู่ที่มุมเขตสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และด้านหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน
ผู้เล่น
ผู้เล่นจะแบ่งเป็นชุด แต่ละชุดประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน และแพทย์ 1 คน ผู้เล่นที่ชื่อในในบันทึกเท่านั้นจึงมีสิทธิ์ลงแข่งขันในครั้งนั้นได้ และเมื่อหัวหน้าชุดและผู้ฝึกสอนลงนามในใบบันทึกจะเปลี่ยนแปลงผู้เล่นไม่ได้ ส่วนหัวหน้าชุดที่มีชื่อในใบบันทึกเพียง 1 คนเท่านั้นที่ทำหน้าที่ได้
เครื่องแต่งกายของผู้เล่นต้องเป็นแบบเดียวกัน จะเป็นแขนสั้นหรือแขนยาวก็ได้ เสื้อของผู้เล่นต้องติดหมายเลขที่ด้านหน้ามีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร และด้านหลังมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ติดหมายเลขตั้งแต่ 1 – 12 ถ้าทั้งสองชุดมีเสื้อสีเหมือนกัน ให้ชุดที่เป็นชุดเหย้าเป็นผู้เปลี่ยน แต่ถ้าแข่งขันสนามกลางให้ทีมที่มีชื่อในในบันทึกก่อนเป็นผู้เปลี่ยนชุด อนุญาตให้เปลี่ยนเสื้อระหว่างการแข่งขันได้ แต่ต้องเป็นหมายเลขเดิม หรือการขอเปลี่ยนกองหน้า ผู้ตัดสินที่ 1 อาจจะอนุญาตให้กระทำได้เช่นเดียวกันกับการอนุญาตให้ใช้ชุดฝึกแข่งขันได้ใน กรณีอากาศหนาวเย็นมาก แต่ต้องเป็นสีเดียวกัน
ข้อห้ามของผู้เล่น
ห้ามไม้ให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่ง ขันทุกกชนิด ห้ามสวมเสื้อผ้าที่ไม่มีหมายเลขที่ถูกต้องและมีสีแตกต่างกันลงแข่งขัน
หน้าที่ของผู้เข้าร่วมแข่งขัน
ผู้เล่นทุกคนต้องเข้าใจในกฎกติกาการแข่งขัน และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ผู้เล่นต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสินด้วย จังจะเป็นลักษณะของผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
มารยาทของผู้เล่นระหว่างการแข่งขัน
ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนคติที่ไม่ดีระหว่างแข่งขัน หรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่เป็นการไม่สุภาพต่อผู้อื่น
หัวหน้าชุด
ต้องติดโบว์หรือแถมขนาด 8 x 1.5 เซนติเมตร ที่มีสีแตกต่างกับสีเสื้อไว้บริเวณหน้าอกด้านซ้าย หัวหน้าชุดมีหน้าที่ควบคุมความประพฤติและวินัยของผู้เล่นในชุดของตนเอง ก่อนการแข่งขัน หัวหน้าชุดต้องเซ็นชื่อลงในใบบันทึก และเป็นผู้เสี่ยงแดนให้กับชุด นอกจากนี้หัวหน้าชุดยังเป็นผู้ที่มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวที่จะติดต่อสอบถาม ขออนุญาตหยุดเล่นเมื่อเกิดปัญหา และรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับทีมของตน
ผู้ฝึกสอน
มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้ คือ เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลควบคุมและอำนวยการต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับทีมเพื่อให้การแข่งขันดำเนินไปตามกติการการแข่งขัน เช่น ส่งรายชื่อและตำแหน่งของผู้เล่นก่อนการแข่งขันในแต่ละเซต ควบคุมการอบอุ่นร่างกายและจะให้คำแนะนำได้เฉพาะเมื่อมีเวลานอกเท่านั้น
ความรับผิดชอบของผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
นั่งอยู่บนม้านั่งในทีมได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ใด ๆ ในการแข่งขัน แต่สามารถทำหน้าที่แทนผู้ฝึกสอนได้เมื่อผู้ฝึกสอนไม่อยู่ ทั้งนี้ต้องให้หัวหน้าชุดเป็นผู้ขอ
การอบอุ่นร่างกายของชุด
ก่อนเริ่มแข่งขัน แต่ละชุดสามารถอบอุ่นร่างกายที่ตาข่าย 3 นาที ถ้ามีสนามอบอุ่นร่างกายแยกต่างหาก แต่ถ้าไม่มีให้อบอุ่นร่างกายได้ชุดละ 5 นาที และหากหัวหน้าชุดทั้งสองประสงค์จะอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายพร้อมกันให้ใช้เวลา ภายใน 6 – 10 นาที และให้ชุดที่เลือกเสิร์ฟก่อนเป็นชุดที่อบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายก่อน
ตำแหน่งเริ่มเล่นของชุด
ก่อนเริ่มเล่นในแต่ละเซต ผู้ฝึกสอนต้องส่งใบตำแหน่งเริมเล่นให้ผู้ตัดสินที่ 2 และถือว่าผู้เล่นทั้ง 6 คนในสนามคือผู้ที่เริ่มการเล่น
ที่นั่งของผู้เล่นสำรองและผู้ฝึกสอน
ผู้ที่ไม่มีชื่อในใบตำแหน่งการเริ่งเล่นในเซตนั้นถือว่าเป็นผู้เล่นสำรอง ในเซต ผู้เล่นสำรองและผู้ฝึกสอนต้องนั่งอยู่ที่ม้านั่งในแดนของตนเอง โดยสามารถอบอุ่นร่างกายแบบไม่ใช้ลูกบอลนอกเขตสนามรอบ ๆ และต้องมานั่งที่เดิมเมื่ออบอุ่นร่างกายแล้ว สามารถให้กำลังใจกับเพื่อนร่วมทีมได้
การผิดตำแหน่ง
ผู้เล่นที่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในขณะที่ผู้เสิร์ฟตีลูกบอลเพื่อเสิร์ฟ จะถือเป็นการผิดตำแหน่ง ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
    1. เมื่อตรวจพบว่าผู้เล่นผิดตำแหน่งให้ลงโทษทีมที่ผิดทันที โดยผู้เล่นต้องหมุนไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องทันที และผู้บันทึกต้องตรวจสอบให้แน่ชดว่าข้อผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เพื่อยกเลิกคะแนนทั้งหมดของชุดที่ผิดกติกา ส่วนของฝ่ายตรงข้ามให้คงไว้
    2. ความผิดที่เกิดขึ้นระหว่างการเสิร์ฟที่ผิดกติกากับการยืนตำแหน่งผิดกติ กา ให้ลงโทษการยืนตำแหน่งผิดเพราะเป็นโทษที่หนักกว่า และเพื่อตรวจพบว่าการหมุนตำแหน่งผิดให้หยุดการเล่นและแก้ไขใหม่ให้ถูกกต้อง
การหยุดการเล่น
การหยุดการเล่นที่ถูกต้อง คือ การขอเวลานอก ขอเปลี่ยนตัวผู้ตัดสินเป็นผู้อนุญาตเมื่อลูกตาย โดยหัวหน้าชุดเป็นผู้ขอ การขอเวลานอกต้องไม่เกิน 30 วินาทีต่อครั้ง แต่ละทีมจะขอได้ไม่เกิน 2 ครั้ง และเปลี่ยนตัวได้ไม่เกิน 6 ครั้ง ต่อหนึ่งเซต และทีมนั้นจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก หากผู้ตัดสินให้สัญญาณเล่นต่อแล้วถ่วงเวลาหรือหยุดการเล่น
การขอเวลานอก
การขอเวลานอกควรปฏิบัติดังนี้ คือ ผู้เล่นสำรองต้องพร้อม โดยถือป้ายแจ้งหมายเลขเสื้อของผู้เล่นที่จะถูกเปลี่ยนออก และยืนอยู่ในเขตเปลี่ยนตัว การแนะนำของผู้ฝึกสอนต้องอยู่นอกเส้นสนาม
การหยุดการเล่นเนื่องจากผู้เล่นในชุด
เพราะสาเหตุมาจากผู้เล่นเกิดการบาดเจ็บ และสามารถเปลี่ยนตัวได้ แต่ถ้าเปลี่ยนตัวไม่ได้ต้องให้เวลาพัก 3 นาที เพื่อทำการปฐมพยาบาล เมื่อผู้เล่นบาดเจ็บเล่นต่อไม่ได้ จะถูกปรับเป็นไม่พร้อมที่จะเล่นในเซตนั้น
การหยุดการเล่นที่ผิดระเบียบ
เมื่อใช้เวลานอกครั้งที่ 2 นานเกินเวลาที่กำหนดหลังจากผู้ตัดสินเรียกให้เล่นต่อ แต่ถ่วงเวลาการเปลี่ยนตัวหลังขอเวลานอกไป 2 ครั้ง แล้วไม่พร้อมที่จะลงเล่นจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก 2 ครั้งติดต่อกัน ชุดนั้นจะถูกปรับเป็นแพ้ในเซตนั้น
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
แต่ละทีมจะขอเปลี่ยนตัวในเซตหนึ่งได้ไม่เกิน 6 ครั้ง ซึ่งจะต้องทำโดยเร็ว การเปลี่ยนตัวที่ถูกกต้อง คือ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินที่ 1 หรือที่ 2 ผู้เล่นสำรองที่จะเปลี่ยนตัวเข้าเล่นต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนทันที หากเปลี่ยนตัวช้าจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก ขณะเปลี่ยนตัวจะไม่มีการแนะนำผู้เล่น
การเปลี่ยนตัวแบบการบังคับ
เพราะผู้เล่นในสนามถูกเชิญออก และถ้าไม่สามารถจะเปลี่ยนตัวได้ ทีมนั้นต้องถกปรับเป็นไม่พร้อมที่จะเล่น ยกเว้นในกรณีผู้เล่นเกิดบาดเจ็บให้เปลี่ยนตัวได้ในกรณีพิเศษ
การเปลี่ยนตัวที่ผิดระเบียบ
เปลี่ยนตัวไม่อยู่ในเขตที่กำหนด หรือไม่มีความพร้อมในการเปลี่ยนตัว และชุดนั้นหมดสิทธิ์ขอเวลานอกแล้ว
การพักระหว่างเซตและการเปลี่ยนแดน
ให้พักระหว่างเซตได้ 2 นาที ส่วนการพักระหว่างเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่เส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสรามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน
ผลการแข่งขัน
ทีมที่ได้คะแนน 15 คะแนนก่อนในแต่ละเซตจะเป็นผู้ชนะ แต่ต้องมีคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้ามอย่างน้อย 2 คะแนน ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน (14 – 14) ผู้ชนะในเซตนั้นต้องมีคะแนนมากกว่า 2 คะแนน คือ 16 – 14, 17 – 15 แต่ถ้าชุดในถูกปรับให้เป็นแพ้ ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเท่าที่ทำได้ ส่วนทีมที่ถูกปรับให้คงคะแนนไว้ตามเดิม
ผู้ชนะในการแข่งขัน
ผู้ที่จะชนะการแข่งขัน คือ ชุดที่ชนะ 3 เซตก่อนใน 5 เซต ถ้าชุดใดไม่พร้อมที่จะแข่งขัน ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเซตเท่าที่ทำได้ในเซตนั้น แต่ฝ่ายที่ถูกรับเป็นแพ้ก็คงคะแนนตามเดิมไว้ ทีมที่ไม่พร้อมจะลงแข่งขันให้ปรับชุดนั้นเป็นแพ้ด้วยคะแนน 15 – 0 ในแต่ละเซต และ 3 – 0 เซต ในการแข่งขันนครั้งนั้น ชุดที่ไม่ลงแข่งขันตามกำหนดให้ปรับเป็นแพ้คะแนน เซตละ 15 – 0 ผลการแข่งขัน 3 – 0 เซต
การเสิร์ฟ
เป็นการกระทำเพื่อทำให้ลูกบอลเข้าเล่น โดยผู้เล่นแถวหลังขวายืนอยู่ในเขตเสิร์ฟและตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียว จะแบมือหรือกำมือก็ได้ การเสิร์ฟที่ถูกต้องคือไม่เหยียบเส้นเสิร์ฟ และเสิร์ฟข้ามตาข่ายไปลงยังแดนฝ่ายตรงข้าม
ลำดับการเสิร์ฟ
ผุเล่นจะต้องเสิร์ฟตามลำดับที่ส่งตามใบส่งตำแหน่ง และจะเริ่มเสิร์ฟครั้งแรกเมื่อทีมนั้นชนะเสี่ยง เมื่อเลือกสิทธิ์เสิร์ฟในเซตที่ 1 และเซตที่ 5 หากฝ่ายเสิร์ฟได้คะแนนการเสิร์ฟของคนเดิม การเสิร์ฟก็จะดำเนินไปเรื่อย ๆ เมื่อฝ่ายเสิร์ฟทำเสียก็จะเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟก็จะหมุนตำแหน่งไป โดยผู้เล่นที่อยู่แถวหน้าขวาเปลี่ยนมาเป็นหลังขวาคือผู้เสิร์ฟ
การเสิร์ฟเสีย
การเสิร์ฟเสียเกิดขึ้นเมื่อผิดลำดับการเสิร์ฟ ไม่เสิร์ฟตามเงื่อนไขของการเสิร์ฟ การพยายามเสิร์ฟ และผู้เล่นของฝ่ายเสิร์ฟในสนามยืนกำบังเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
การถูกลูกบอล
แต่ละชุดสามารถถูกลูกบอลได้ไม่เกิน 3 ครั้ง (ไม่รวมการสกัดกั้น) และต้องส่งลูกข้ามตาข่ายกลับไปยังแดนคู่ต่อสู้ การถูกลูกบอลทุกครั้งของผู้เล่นนับเป็นการถูกลูกบอลของทีมนั้น ผู้เล่นไม่สามารถถูกลูกบอลสองครั้งติดต่อกัน ยกเว้นการสกัดกั้น ลูกบอลสามารถถูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่เอวขึ้นไปได้ แต่เป็นการถูกเพียงครั้งเดียวที่กระดอนให้เห็นโดยชัดแจ้ง ลูกบอลจะต้องถูกตีโดยชัดแจ้ง และไม่เป็นการปัดลูกบอล เช่น ยก ผลัก พา ขว้าง หรือเกี่ยว เพราะการถูกกลูกบอลในลักษณะดังกล่าวถือว่าผิดกติกา
ผู้เล่นสองคนหรือมากกว่า
ผู้เล่นสามารถถูกลูกบอลในเวลาเดียวกันได้ และไม่ถือว่าเสียคะแนน คือการสกัดกั้น (Block) และลูกบอลกลับเข้าสู่การเล่นอีก ผู้เล่นฝ่ายที่สกัดกั้นสามารถเล่นลูกได้อีก 3 ครั้ง แต่ถ้าลูกที่ผู้เล่นในลักษณะการสกัดกั้นแล้ว ลูกบอลตกออกนอกสนามไป ฝ่ายถูกลูกบอลเป็นฝ่ายทำออก การเล่นที่ทีมนั้นเล่นลูก 4 ครั้ง หรือคนเดียวเล่นลูก 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการเล่นลูกผิกกติกา
การเล่นมือล้ำเหนือตาข่าย
ขณะการสกัดกั้นอนุญาตให้ถูกลูกบอลที่อยู่เหนือตาข่ายที่อยู่ในแดนคู่ ต่อสู้ได้ โดยผู้เล่นต้องไม่รบกวนการเล่นลูกบอลนั้นก่อน หรือระหว่างการเล่นของคู่ต่อสู้ และหลังจากที่ผู้เล่นตบลูก อนุญาตให้มือล้ำเหนือตาข่ายเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้ ทั้งนี้จังหวะตบลูกต้องอยู่ในแดนของตนเอง และขณะแข่งขันห้ามไม่ให้ผู้เล่นถูกส่วนหนึ่งส่วนใดของตาข่าย แต่สามารถให้อวัยวะส่วนมือและเท้าล้ำเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้ แต่ต้องไม่เป็นการรบกวนคู่แข่งขัน และผู้เบ่นสามารถสัมผัสแพนคู้ต่อสู้ได้โดยไม่รบกวนหรือเกี่ยวข้องตัวของคู่ แข่งขัน ซึ่งการเล่นดังกล่าวสามารถทำได้ เช่น การเหยียบเส้นแบ่งแดน แต่ไม่ใช่ล้ำแดน หรือเลยข้ามไปยังฝ่ายตรงข้าม
การล้ำแดนที่ผิดระเบียบ เมื่อสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้
ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ตอสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ใน การเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
การตบลูกบอล
ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูง ทุกระดับ โดยขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแดนหลังสามารถกระโดตบลูกได้ แต่ต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม้เป็นไปตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย
การสกัดกั้น
คือ การกระทำของผู้เล่นในแดนหน้าหนึ่งคนหรือมากกว่า อยู่ชิดตาข่ายเพื่อป้องกันลูกบอลที่มาจากแดนของคู่ต่อสู้ โดยใช้มือหรือแขนยกป้องกัน และจะผิดระเบียบกติกาเมื่อฝ่ายสกัดกั้นทำการสกัดกั้นนอกเสาอากาศ และถูกลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปรบกวนการเล่นของคู่ตอสู้ทั้งก่อนหรือ ระหว่างการเล่นลูกบอลของคู่ตอสู้จะต้องถูกลงโทษ 2 ลักษณะ คือ เสียคะแนน หรือเปลี่ยนเสิร์ฟ แต่ถ้ามีการทำผิดพร้อมกันทั้งสองทีมจะไม่มีมีการทำโทษ และให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกได้เสิร์ฟลูกใหม่
Posted by armin on Wednesday, March 18, 2009, 12:09
This news item was posted in กีฬา-บทความ category and has 0 Comments so far.

กติกาวอลเลย์บอล
สนามแข่งขัน
สนามแข่งขันควรจะเป็นพื้นดิน พื้นไม้หรือพื้นปูนซีเมนต์ (เรียบ) และต้องเป็นพื้นแข็งเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร โดยมีบริเวณรอบ ๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 2 เมตร ถ้าเป็นสนามกลางแจ้งต้องมีบริเวณรอบ ๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 3 เมตร ความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปมีสิ่งกีดขวางหรือติดเพดานอย่างน้อย 7 เมตร หากเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ บริเวณรอบสนามต้องห่างไม่น้อยกว่า 5 เมตร จากเส้นข้าง และ 8 เมตร วัดจากเส้นหลัง ความสูงของเพดาน หรือสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 12.5 เมตร และสนามต้องเป็นพื้นไม้ หรือพื้นสังเคราะห์อื่น ๆ ได้ แต่ต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลบอลนานาชาติ (I.V.B.F)
เส้นเขตสนาม (Boundary lines) เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนแตกต่างจากสีพื้นสนาม เส้นทั้งหมดนี้รวมอยู่ในสนามแข่งขัน กว้าง x ยาว เท่ากับ 9 x 18 เมตร
เส้นแบ่งแดน (Center line) เป็นเส้นที่แบ่งพื้นสนาม ออกเป็น 2 ส่วน ยู่ตรงกึ่งกลางของสนามขนาดกว้างจากจุดกึ่งกลางสนามไปยังเส้นหลัง 9 เมตร เส้นจะอยู่ใต้ตาข่ายหรือตรงเสาตาข่ายพอดี
เส้นเขตแดน (Zone lines)
    1. เส้นเขตรุกและเขตรุก เขตรุกแต่ละฝ่ายเป็นเขตที่กำหนดโดยเขตรุกกว้าง 3 เมตร คิดรวมกับความกว้างของเส้นด้วย เขตรุกจะลากขนานกับเส้นแบ่งแดนของสนาม และสมมติว่ามีความยาวออกไปนอกกเขตสนามโดยไม่มีกำหนด
    2. เส้นเสิร์ฟและเขตเสิร์ฟ คือ เส้นที่ลากยาว 15 เซนติเมตร สองเส้นจากปลายสุดของสนาม โดยเขียนให้ห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร ซึ่งเขียนจากปลายเส้นข้างด้านขวาหนึ่งเส้น และเข้าไปทางซ้ายด้านในของสนามห่างกัน 3 เมตรอีกหนึ่งเส้น
    3. เขตเปลี่ยนตัว อยู่ที่เขตรุกของทั้งสองฝ่ายที่เป็นแนวสมมติเลยออกไปในเขตรอบสนามที่อยู่ทั้งสองด้านของโต๊ะผู้บันทึก
แสงสว่าง (Light) แสงสว่างในสนามควรอยู่ระหว่าง 500 – 1,500 วัตต์
ตาข่ายและเสาขึงตาข่าย
ตาข่าย (Net) มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 เมตร ขึงอยู่ในแนวดิ่งเหนือจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามออกเป็น 2 ส่วน
แถบข้าง (Side Bands) ใช้แถบสีขาวก้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร ติดที่ปลายตาข่ายแต่ละด้าน ตั้งให้ได้ฉากกับเส้นข้าง และอยู่ในแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน แถบข้างนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย
เสาอากาศ (Antennas) ทำด้วยหลอดใยแก้ว หรือวัตถุที่คล้ายกัน มีความยาว 1.8 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทาสีขาวสลับแดงเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงห่างกัน 10 เซนติเมตร เสาอากาศมี 2 เสา แต่ละเสาผูกติดกับขอบตาข่าย นอกสุดตรงกับแถบเส้นข้างของตาข่าย โดยให้ยื่นไปเหนือตาข่าย 80 เซนติเมตร
ความสูงของตาข่าย (Height of the Net) ความสูงตาข่ายของนักกีฬาชาย 2.43 เมตร และนักกีฬาหญิง 2.24 เมตร โดยวัดที่กึ่งกลางสนาม
เสาขึงตาข่าย ควรจะมีลักษณะกลมและเรียบทั้งสองเสา ซึ่งสามารถปรับระดับได้ มีความสูง 2.55 เมตร เพื่อรองรับปลายสุดของตาข่ายแต่ละด้าน เสาขึงต้องยึดติดอยู่กับพื้น ห่างจากเส้นข้างอย่างน้อย 50 – 100 เซนติเมตร ห้ามใช้ลวดหรือโลหะเป็นตัวยึดตาข่ายกับเสาเพราะจะเป็นอันตราย
ลูกบอล
ลูกบอลต้องมีลักษณะกลม ทำด้วยหนังฟอกที่ยืดหยุ่นได้ มียางในทำด้วยยางหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน สีต้องเป็นไปตามแบบและเป็นสีอ่อน (สีขาว) ขนาดเส้นรอบวงระหว่าง 6.5 – 6.7 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 260 – 270 กรัม แรงอัดระหว่าง 0.40 – 0.45 กก./ตร.ซม.
การใช้ลูกบอล 3 ลูก
การแข่งขันระหว่างชาติ ควรใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีผู้คอยเก็บลูกบอลส่งให้ 6 คน ซึ่งอยู่ที่มุมเขตสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และด้านหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน
ผู้เล่น
ผู้เล่นจะแบ่งเป็นชุด แต่ละชุดประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน และแพทย์ 1 คน ผู้เล่นที่ชื่อในในบันทึกเท่านั้นจึงมีสิทธิ์ลงแข่งขันในครั้งนั้นได้ และเมื่อหัวหน้าชุดและผู้ฝึกสอนลงนามในใบบันทึกจะเปลี่ยนแปลงผู้เล่นไม่ได้ ส่วนหัวหน้าชุดที่มีชื่อในใบบันทึกเพียง 1 คนเท่านั้นที่ทำหน้าที่ได้
เครื่องแต่งกายของผู้เล่นต้องเป็นแบบเดียวกัน จะเป็นแขนสั้นหรือแขนยาวก็ได้ เสื้อของผู้เล่นต้องติดหมายเลขที่ด้านหน้ามีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร และด้านหลังมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ติดหมายเลขตั้งแต่ 1 – 12 ถ้าทั้งสองชุดมีเสื้อสีเหมือนกัน ให้ชุดที่เป็นชุดเหย้าเป็นผู้เปลี่ยน แต่ถ้าแข่งขันสนามกลางให้ทีมที่มีชื่อในในบันทึกก่อนเป็นผู้เปลี่ยนชุด อนุญาตให้เปลี่ยนเสื้อระหว่างการแข่งขันได้ แต่ต้องเป็นหมายเลขเดิม หรือการขอเปลี่ยนกองหน้า ผู้ตัดสินที่ 1 อาจจะอนุญาตให้กระทำได้เช่นเดียวกันกับการอนุญาตให้ใช้ชุดฝึกแข่งขันได้ใน กรณีอากาศหนาวเย็นมาก แต่ต้องเป็นสีเดียวกัน
ข้อห้ามของผู้เล่น
ห้ามไม้ให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่ง ขันทุกกชนิด ห้ามสวมเสื้อผ้าที่ไม่มีหมายเลขที่ถูกต้องและมีสีแตกต่างกันลงแข่งขัน
หน้าที่ของผู้เข้าร่วมแข่งขัน
ผู้เล่นทุกคนต้องเข้าใจในกฎกติกาการแข่งขัน และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ผู้เล่นต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสินด้วย จังจะเป็นลักษณะของผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
มารยาทของผู้เล่นระหว่างการแข่งขัน
ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนคติที่ไม่ดีระหว่างแข่งขัน หรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่เป็นการไม่สุภาพต่อผู้อื่น
หัวหน้าชุด
ต้องติดโบว์หรือแถมขนาด 8 x 1.5 เซนติเมตร ที่มีสีแตกต่างกับสีเสื้อไว้บริเวณหน้าอกด้านซ้าย หัวหน้าชุดมีหน้าที่ควบคุมความประพฤติและวินัยของผู้เล่นในชุดของตนเอง ก่อนการแข่งขัน หัวหน้าชุดต้องเซ็นชื่อลงในใบบันทึก และเป็นผู้เสี่ยงแดนให้กับชุด นอกจากนี้หัวหน้าชุดยังเป็นผู้ที่มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวที่จะติดต่อสอบถาม ขออนุญาตหยุดเล่นเมื่อเกิดปัญหา และรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับทีมของตน
ผู้ฝึกสอน
มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้ คือ เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลควบคุมและอำนวยการต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับทีมเพื่อให้การแข่งขันดำเนินไปตามกติการการแข่งขัน เช่น ส่งรายชื่อและตำแหน่งของผู้เล่นก่อนการแข่งขันในแต่ละเซต ควบคุมการอบอุ่นร่างกายและจะให้คำแนะนำได้เฉพาะเมื่อมีเวลานอกเท่านั้น
ความรับผิดชอบของผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
นั่งอยู่บนม้านั่งในทีมได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ใด ๆ ในการแข่งขัน แต่สามารถทำหน้าที่แทนผู้ฝึกสอนได้เมื่อผู้ฝึกสอนไม่อยู่ ทั้งนี้ต้องให้หัวหน้าชุดเป็นผู้ขอ
การอบอุ่นร่างกายของชุด
ก่อนเริ่มแข่งขัน แต่ละชุดสามารถอบอุ่นร่างกายที่ตาข่าย 3 นาที ถ้ามีสนามอบอุ่นร่างกายแยกต่างหาก แต่ถ้าไม่มีให้อบอุ่นร่างกายได้ชุดละ 5 นาที และหากหัวหน้าชุดทั้งสองประสงค์จะอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายพร้อมกันให้ใช้เวลา ภายใน 6 – 10 นาที และให้ชุดที่เลือกเสิร์ฟก่อนเป็นชุดที่อบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายก่อน
ตำแหน่งเริ่มเล่นของชุด
ก่อนเริ่มเล่นในแต่ละเซต ผู้ฝึกสอนต้องส่งใบตำแหน่งเริมเล่นให้ผู้ตัดสินที่ 2 และถือว่าผู้เล่นทั้ง 6 คนในสนามคือผู้ที่เริ่มการเล่น
ที่นั่งของผู้เล่นสำรองและผู้ฝึกสอน
ผู้ที่ไม่มีชื่อในใบตำแหน่งการเริ่งเล่นในเซตนั้นถือว่าเป็นผู้เล่นสำรอง ในเซต ผู้เล่นสำรองและผู้ฝึกสอนต้องนั่งอยู่ที่ม้านั่งในแดนของตนเอง โดยสามารถอบอุ่นร่างกายแบบไม่ใช้ลูกบอลนอกเขตสนามรอบ ๆ และต้องมานั่งที่เดิมเมื่ออบอุ่นร่างกายแล้ว สามารถให้กำลังใจกับเพื่อนร่วมทีมได้
การผิดตำแหน่ง
ผู้เล่นที่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในขณะที่ผู้เสิร์ฟตีลูกบอลเพื่อเสิร์ฟ จะถือเป็นการผิดตำแหน่ง ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
    1. เมื่อตรวจพบว่าผู้เล่นผิดตำแหน่งให้ลงโทษทีมที่ผิดทันที โดยผู้เล่นต้องหมุนไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องทันที และผู้บันทึกต้องตรวจสอบให้แน่ชดว่าข้อผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เพื่อยกเลิกคะแนนทั้งหมดของชุดที่ผิดกติกา ส่วนของฝ่ายตรงข้ามให้คงไว้
    2. ความผิดที่เกิดขึ้นระหว่างการเสิร์ฟที่ผิดกติกากับการยืนตำแหน่งผิดกติ กา ให้ลงโทษการยืนตำแหน่งผิดเพราะเป็นโทษที่หนักกว่า และเพื่อตรวจพบว่าการหมุนตำแหน่งผิดให้หยุดการเล่นและแก้ไขใหม่ให้ถูกกต้อง
การหยุดการเล่น
การหยุดการเล่นที่ถูกต้อง คือ การขอเวลานอก ขอเปลี่ยนตัวผู้ตัดสินเป็นผู้อนุญาตเมื่อลูกตาย โดยหัวหน้าชุดเป็นผู้ขอ การขอเวลานอกต้องไม่เกิน 30 วินาทีต่อครั้ง แต่ละทีมจะขอได้ไม่เกิน 2 ครั้ง และเปลี่ยนตัวได้ไม่เกิน 6 ครั้ง ต่อหนึ่งเซต และทีมนั้นจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก หากผู้ตัดสินให้สัญญาณเล่นต่อแล้วถ่วงเวลาหรือหยุดการเล่น
การขอเวลานอก
การขอเวลานอกควรปฏิบัติดังนี้ คือ ผู้เล่นสำรองต้องพร้อม โดยถือป้ายแจ้งหมายเลขเสื้อของผู้เล่นที่จะถูกเปลี่ยนออก และยืนอยู่ในเขตเปลี่ยนตัว การแนะนำของผู้ฝึกสอนต้องอยู่นอกเส้นสนาม
การหยุดการเล่นเนื่องจากผู้เล่นในชุด
เพราะสาเหตุมาจากผู้เล่นเกิดการบาดเจ็บ และสามารถเปลี่ยนตัวได้ แต่ถ้าเปลี่ยนตัวไม่ได้ต้องให้เวลาพัก 3 นาที เพื่อทำการปฐมพยาบาล เมื่อผู้เล่นบาดเจ็บเล่นต่อไม่ได้ จะถูกปรับเป็นไม่พร้อมที่จะเล่นในเซตนั้น
การหยุดการเล่นที่ผิดระเบียบ
เมื่อใช้เวลานอกครั้งที่ 2 นานเกินเวลาที่กำหนดหลังจากผู้ตัดสินเรียกให้เล่นต่อ แต่ถ่วงเวลาการเปลี่ยนตัวหลังขอเวลานอกไป 2 ครั้ง แล้วไม่พร้อมที่จะลงเล่นจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก 2 ครั้งติดต่อกัน ชุดนั้นจะถูกปรับเป็นแพ้ในเซตนั้น
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
แต่ละทีมจะขอเปลี่ยนตัวในเซตหนึ่งได้ไม่เกิน 6 ครั้ง ซึ่งจะต้องทำโดยเร็ว การเปลี่ยนตัวที่ถูกกต้อง คือ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินที่ 1 หรือที่ 2 ผู้เล่นสำรองที่จะเปลี่ยนตัวเข้าเล่นต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนทันที หากเปลี่ยนตัวช้าจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก ขณะเปลี่ยนตัวจะไม่มีการแนะนำผู้เล่น
การเปลี่ยนตัวแบบการบังคับ
เพราะผู้เล่นในสนามถูกเชิญออก และถ้าไม่สามารถจะเปลี่ยนตัวได้ ทีมนั้นต้องถกปรับเป็นไม่พร้อมที่จะเล่น ยกเว้นในกรณีผู้เล่นเกิดบาดเจ็บให้เปลี่ยนตัวได้ในกรณีพิเศษ
การเปลี่ยนตัวที่ผิดระเบียบ
เปลี่ยนตัวไม่อยู่ในเขตที่กำหนด หรือไม่มีความพร้อมในการเปลี่ยนตัว และชุดนั้นหมดสิทธิ์ขอเวลานอกแล้ว
การพักระหว่างเซตและการเปลี่ยนแดน
ให้พักระหว่างเซตได้ 2 นาที ส่วนการพักระหว่างเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่เส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสรามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน
ผลการแข่งขัน
ทีมที่ได้คะแนน 15 คะแนนก่อนในแต่ละเซตจะเป็นผู้ชนะ แต่ต้องมีคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้ามอย่างน้อย 2 คะแนน ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน (14 – 14) ผู้ชนะในเซตนั้นต้องมีคะแนนมากกว่า 2 คะแนน คือ 16 – 14, 17 – 15 แต่ถ้าชุดในถูกปรับให้เป็นแพ้ ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเท่าที่ทำได้ ส่วนทีมที่ถูกปรับให้คงคะแนนไว้ตามเดิม
ผู้ชนะในการแข่งขัน
ผู้ที่จะชนะการแข่งขัน คือ ชุดที่ชนะ 3 เซตก่อนใน 5 เซต ถ้าชุดใดไม่พร้อมที่จะแข่งขัน ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเซตเท่าที่ทำได้ในเซตนั้น แต่ฝ่ายที่ถูกรับเป็นแพ้ก็คงคะแนนตามเดิมไว้ ทีมที่ไม่พร้อมจะลงแข่งขันให้ปรับชุดนั้นเป็นแพ้ด้วยคะแนน 15 – 0 ในแต่ละเซต และ 3 – 0 เซต ในการแข่งขันนครั้งนั้น ชุดที่ไม่ลงแข่งขันตามกำหนดให้ปรับเป็นแพ้คะแนน เซตละ 15 – 0 ผลการแข่งขัน 3 – 0 เซต
การเสิร์ฟ
เป็นการกระทำเพื่อทำให้ลูกบอลเข้าเล่น โดยผู้เล่นแถวหลังขวายืนอยู่ในเขตเสิร์ฟและตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียว จะแบมือหรือกำมือก็ได้ การเสิร์ฟที่ถูกต้องคือไม่เหยียบเส้นเสิร์ฟ และเสิร์ฟข้ามตาข่ายไปลงยังแดนฝ่ายตรงข้าม
ลำดับการเสิร์ฟ
ผุเล่นจะต้องเสิร์ฟตามลำดับที่ส่งตามใบส่งตำแหน่ง และจะเริ่มเสิร์ฟครั้งแรกเมื่อทีมนั้นชนะเสี่ยง เมื่อเลือกสิทธิ์เสิร์ฟในเซตที่ 1 และเซตที่ 5 หากฝ่ายเสิร์ฟได้คะแนนการเสิร์ฟของคนเดิม การเสิร์ฟก็จะดำเนินไปเรื่อย ๆ เมื่อฝ่ายเสิร์ฟทำเสียก็จะเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟก็จะหมุนตำแหน่งไป โดยผู้เล่นที่อยู่แถวหน้าขวาเปลี่ยนมาเป็นหลังขวาคือผู้เสิร์ฟ
การเสิร์ฟเสีย
การเสิร์ฟเสียเกิดขึ้นเมื่อผิดลำดับการเสิร์ฟ ไม่เสิร์ฟตามเงื่อนไขของการเสิร์ฟ การพยายามเสิร์ฟ และผู้เล่นของฝ่ายเสิร์ฟในสนามยืนกำบังเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
การถูกลูกบอล
แต่ละชุดสามารถถูกลูกบอลได้ไม่เกิน 3 ครั้ง (ไม่รวมการสกัดกั้น) และต้องส่งลูกข้ามตาข่ายกลับไปยังแดนคู่ต่อสู้ การถูกลูกบอลทุกครั้งของผู้เล่นนับเป็นการถูกลูกบอลของทีมนั้น ผู้เล่นไม่สามารถถูกลูกบอลสองครั้งติดต่อกัน ยกเว้นการสกัดกั้น ลูกบอลสามารถถูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่เอวขึ้นไปได้ แต่เป็นการถูกเพียงครั้งเดียวที่กระดอนให้เห็นโดยชัดแจ้ง ลูกบอลจะต้องถูกตีโดยชัดแจ้ง และไม่เป็นการปัดลูกบอล เช่น ยก ผลัก พา ขว้าง หรือเกี่ยว เพราะการถูกกลูกบอลในลักษณะดังกล่าวถือว่าผิดกติกา
ผู้เล่นสองคนหรือมากกว่า
ผู้เล่นสามารถถูกลูกบอลในเวลาเดียวกันได้ และไม่ถือว่าเสียคะแนน คือการสกัดกั้น (Block) และลูกบอลกลับเข้าสู่การเล่นอีก ผู้เล่นฝ่ายที่สกัดกั้นสามารถเล่นลูกได้อีก 3 ครั้ง แต่ถ้าลูกที่ผู้เล่นในลักษณะการสกัดกั้นแล้ว ลูกบอลตกออกนอกสนามไป ฝ่ายถูกลูกบอลเป็นฝ่ายทำออก การเล่นที่ทีมนั้นเล่นลูก 4 ครั้ง หรือคนเดียวเล่นลูก 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการเล่นลูกผิกกติกา
การเล่นมือล้ำเหนือตาข่าย
ขณะการสกัดกั้นอนุญาตให้ถูกลูกบอลที่อยู่เหนือตาข่ายที่อยู่ในแดนคู่ ต่อสู้ได้ โดยผู้เล่นต้องไม่รบกวนการเล่นลูกบอลนั้นก่อน หรือระหว่างการเล่นของคู่ต่อสู้ และหลังจากที่ผู้เล่นตบลูก อนุญาตให้มือล้ำเหนือตาข่ายเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้ ทั้งนี้จังหวะตบลูกต้องอยู่ในแดนของตนเอง และขณะแข่งขันห้ามไม่ให้ผู้เล่นถูกส่วนหนึ่งส่วนใดของตาข่าย แต่สามารถให้อวัยวะส่วนมือและเท้าล้ำเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้ แต่ต้องไม่เป็นการรบกวนคู่แข่งขัน และผู้เบ่นสามารถสัมผัสแพนคู้ต่อสู้ได้โดยไม่รบกวนหรือเกี่ยวข้องตัวของคู่ แข่งขัน ซึ่งการเล่นดังกล่าวสามารถทำได้ เช่น การเหยียบเส้นแบ่งแดน แต่ไม่ใช่ล้ำแดน หรือเลยข้ามไปยังฝ่ายตรงข้าม
การล้ำแดนที่ผิดระเบียบ เมื่อสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้
ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ตอสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ใน การเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
การตบลูกบอล
ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูง ทุกระดับ โดยขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแดนหลังสามารถกระโดตบลูกได้ แต่ต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม้เป็นไปตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย
การสกัดกั้น
คือ การกระทำของผู้เล่นในแดนหน้าหนึ่งคนหรือมากกว่า อยู่ชิดตาข่ายเพื่อป้องกันลูกบอลที่มาจากแดนของคู่ต่อสู้ โดยใช้มือหรือแขนยกป้องกัน และจะผิดระเบียบกติกาเมื่อฝ่ายสกัดกั้นทำการสกัดกั้นนอกเสาอากาศ และถูกลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปรบกวนการเล่นของคู่ตอสู้ทั้งก่อนหรือ ระหว่างการเล่นลูกบอลของคู่ตอสู้จะต้องถูกลงโทษ 2 ลักษณะ คือ เสียคะแนน หรือเปลี่ยนเสิร์ฟ แต่ถ้ามีการทำผิดพร้อมกันทั้งสองทีมจะไม่มีมีการทำโทษ และให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกได้เสิร์ฟลูกใหม่

โรคจากการประกอบอาชีพ

โรคจากการประกอบอาชีพ
โรคจากการประกอบอาชีพ โรคระบบหายใจ โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง
โรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เนื่องจากสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย ทางระบบทางเดินในรูปอนุภาค
ซึ่งสามารถเข้าสู่ระบบหายใจในระดับต่างๆ ตามขนาดของอนุภาค และทำให้เกิดโรคได้ตั้งแต่ระบบหายใจส่วนต้น เช่น ทำให้
มีอาการอักเสบของเยื่อบุจมูก เป็นหวัด เจ็บคอ จนถึงระบบหายใจส่วนปลาย ซึ่งทำให้เกิดโรคนิวไมโคนิโอสิสชนิดต่างๆ
นอกจากนี้อนุภาคเหล่านี้อาจไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้หลั่งสารออกมากระตุ้นให้เกิดการตีบของหลอดลม
ทำให้เป็นโรคหอบหืด หรือมีการหลั่งน้ำออกมาในถุงลมทำให้เป็นปอดอักเสบได้
ความสำคัญของโรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพ
ปอดเป็นอวัยวะที่ใช้ในการหายใจ ดังนั้นเมื่อเป็นโรคปอดไม่ว่าจากสาเหตุใด จะทำให้เกิดอาการไอ หอบ ไม่สามารถออกแรง
หรือทำงาน จนกระทั่งหายใจตามปกติได้ โรคปอดจากการประกอบอาชีพ เป็นแล้วไม่หาย
โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นนั้นวินิจฉัยยาก เช่น อาการน้ำมูกมากจากการระคายเคืองทำให้วินิจฉัยผิดว่าไม่ได้เกิดจากการ
ประกอบอาชีพ
กลไกการเกิดโรคของโรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพ เกิดตั้งแต่การหายใจเอาสารเคมีเข้าไปในในระบบหายใจ ในรูป
อนุภาคในขนาดต่างๆ กัน ถ้าขนาดต่ำกว่า 3 ไมครอนก็จะเข้าสู่หลอดลมส่วนปลาย และสมารถเข้าไปในถุงลมได้ อนุภาค
เหล่านี้ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตั้งแต่จมูก ส่วนหลังของจมูก หลอดเสียง ท่อลม หลอดลม และถุงลม ทำให้เกิดอาการ
ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เกิดการตีบตัวของหลอดลมเกิดการอักเสบภายในปอด ถุงลม ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ
ของระบบหายใจขึ้น
โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ เกิดจากการระคายเคืองในชนิดต่างๆ ของสารเคมีที่ผิวหนังทำให้มีการอักเสบเกิดขึ้น ซึ่ง
การระคายเคืองนี้ขึ้นกับความสามารถในการละลายในน้ำหรือไขมันของสารเคมีนั้นๆ และความสามารถในการแทรกตัวลงไป
ในชั้นของผิวหนัง นอกจากสารเคมีที่ทำให้เกิดการอักเสบแล้ว ยังมีเชื้อโรคชนิดต่างๆ และปัจจัยทางกายภาพ ที่เกิดซ้ำกันที่
ผิวหนังทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังที่ผิวหนัง การระคายเคืองที่ผิวหนังสามารถแบ่งเป็นสองแบบคือ การระคายเคืองและแบบ
ภูมิแพ้ ซึ่งมีกลไกการเกิดโรคต่างกัน
โรคผิวหนังอักเสบชนิดที่ไม่ใช่แบบระคายเคืองและภูมิแพ้เกิดจากการสัมผัสกับสิ่งคุกคามหลายชนิดซึ่ง ไม่แตกต่างกับแบบ
ระคายเคืองและภูมิแพ้ เพียงแต่กลไกการเกิดการอักเสบนั้นแตกต่างกันเท่านั้น
โรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพ เกิดเนื่องจากผลของสารเคมีโดยตรงต่อกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ คือในระดับดีเอ็นเอ มี
สารเคมีหลายตัวก่อให้เกิดมะเร็งในตำแหน่งต่างๆ กันของร่างกาย กลไกการเกิดมะเร็งจะต้องมีเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งกว่าจะ
เกิดขึ้นใช้เวลานานเป็นสิบปี และจะต้องมีการส่งเสริมให้เกิดการแบ่งตัวจนเกิดเป็นมะเร็งและมีอาการซึ่งต้องใช้เวลานานเป็น
สิบปีอีก ดังนั้นการเกิดโรคมะเร็งจากการทำงานจะต้องใช้เวลานานเป็นสิบปีหลังจากมีการสัมผัสสารที่ก่อมะเร็งนั้น
โรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพต้องใช้เวลานานเป็นสิบถึงยี่สิบปีกว่าจะแสดงอาการขึ้นกับขนาดของสารก่อมะเร็งที่
สัมผัส การเกิดเซลล์ต้นกำเนิด ในระยะกระตุ้น และระยะสร้างเสริม
ขั้นตอนของการเกิดสารมะเร็งได้แก่ initiation promotion , transformation และ progression โดยขั้นตอนจาก initiation ไปยัง
promotion ใช้เวลายาวที่สุด
โรคทางเดินหายใจจากการประกอบอาชีพ
โรคนิวโมโคนิโอสิส เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายต่ออนุภาคของสารเคมีที่เข้าไปในร่างกายที่ถุงลมปอด ทำให้เกิดพังผืดภายใน
ปอด โรคที่รู้จักกันดีได้แก่ ซิลิโคสิสซึ่งเกิดจากผลึกซิลิกา เกิดจากอาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับการระเบิดการแต่งหิน อาการจะค่อย
เป็นค่อยไป มีได้ตั้งแต่หลังเข้าทำงาน 6 เดือนจนถึงหลังทำงานแล้ว 15 ปี ตามแต่มลพิษของฝุ่นหินในสภาพแวดล้อมการ
ทำงาน อาการ ได้แก่ อาการของโรคปอดชนิดขยายตัวจำกัด มีอาการเหนื่อยหอบเวลาออกแรง บางรายเป็นวัณโรคปอด การ
วินิจฉัยโดยใช้ภาพรังสีปอดพบลักษณะเปรียบเทียบกับภาพรังสีปอดมาตรฐานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ โรคนี้
รักษาไม่หาย ส่วนใหญ่อาการจะเป็นต่อไปจนหอบเหนื่อยมาก การควบคุมป้องกันโดยการจัดการด้านวิศวกรรม การระบาย
อากาศและการใช้เครื่องป้องกันส่วนบุคคล
โรคปอดฝุ่นหินแบ่งเป็น 3 ชนิดได้แก่ แบบเฉียบพลัน แบบเร่ง และแบบเรื้อรัง โดยอาการแสดงจะเป็นอาการของโรคปอด
ขยายตัวแบบจำกัด (Restrictive lung) มีอาการเหนื่อยหอบเมื่อออกแรงไอ อาจมีวัณโรคปอดร่วมด้วย และโรคมะเร็งปอด
ทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นโรค วิธีที่ดีที่สุดคือพยายามไม่ให้มีฝุ่นหิน ถ้าจัดการไม่ได้ก็ต้องมีอาการระบายอากาศทีดี หรือมีเครื่อง
ป้องกันส่วนบุคคลที่ดี มีสุขภาพที่ดี โรคปอดฝุ่นหินรักษาไม่หาย การป้องกันไม่ให้มีการสัมผัส เป็นวิธีที่ดีที่สุด
การวินิจฉัยโรคปอดฝุ่นหิน ได้แก่ การซักประวัติการสัมผัส ระยะเวลาการสัมผัส กรถามอาการ และการตรวจร่างกาย และการ
ตรวจภาพรังสี (X-ray) ปอดซึ่งต้องเปรียบเทียบกับฟิลม์ของ ILO (International labororganization)
โรคแอสเบสตอสโตสิส และโรคอื่นที่เกี่ยวข้องเกิดจากการสัมผัสเส้นใยแอสเบสตอสพบในอาชีพหลายอย่าง เช่น การทำ
ฉนวน ฝ้าเพดาน แอสเบสตอสมีลักษณะเป็นเส้นใยจึงเข้าไปติดในถุงลมและมีการดำเนินโรคเช่นเดียวกับซิลิโคสิส จะมีผนัง
เยื่อหุ้มปอดหนาตัว และเปน็ มะเร็งของเยื่อหุ้มปอดซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะโรคได้ การวินิจฉัยโดยอาศัยอาการของโรคปอดเป็น
พังผืด และทำการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดจะพบผนังเยื่อหุ้มปอดหนาตัวขึ้นการควบคุมป้องกันใช้วิธีเดียวกับการป้องกัน
เกี่ยวกับโรคปอดจากการประกอบอาชีพทั่วไป วิธีที่ดีที่สุดคือเลิกใช้ และหันมาใช้วัสดุอื่นที่อันตรายน้อยกว่าแทน
การวินิจฉัยโรคปอดใยหินได้จากประวัติการสัมผัสใยหิน ขนาดของใยหินในบรรยากาศที่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด
ระยะเวลาการสัมผัส การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล การซักประวัติอาการของโรคปอด การซักประวัติการ
สูบบุหรี่ การตรวจร่างกาย การตรวจรังสีปอด นอกจากนี้การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์โดยวิธี High resolution
(HR-CT) ยังช่วยในการวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้นด้วย การรักษาโรคปอดใยหินเป็นการรักษาแบบประคับประคองเนื่องจาก
ไม่สามารถรักษาหรือกู้ปอดที่เสียกลับคืนมาได้ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการไม่ใช้แอสเบสตอสในการทำวัตถุดิบ
โรคบิสซิโนสิส เกิดจากการหดเกร็งของท่อลมในปอดทำให้ตรวจพบมีการหายใจเสียงหวีดขณะหายใจออก เกิดในขณะทำงาน
เนื่องจากมีการสัมผัสสารก่ออาการส่วนใหญ่การเกิดโรคเกิดจากปฏิกิริยาภูมิไวเกิน ในระยะแรกจะมีอาการเฉพาะเวลาที่มีการ
สัมผัสเช่นเวลาทำงาน ต่อมาเมื่อมีการสัมผัสทีละน้อยเป็นเวลานานๆ ก็จะมีอาการตลอดเวลากลายเป็นโรคหอบหืด โรคบิสซิ
โนสิสเป็นโรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพที่เกิดจากการสัมผัสเส้นใยฝ้าย ป่านปอหรือลินิน ซึ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติทำให้
เกิดอาการหอบหือ โดยมีลักษณะพิเศษคือ จะเป็นในวันแรกของการเข้าทำงาน วินิจฉัยโดยซักประวัติ ตรวจอาการ และทำการ
ตรวจสมรรถภาพปอดพบมีลักษณะปอดอุดกั้น การรักษาโดยใช้ยาขยายหลอดลม และย้ายออกจากงาน
อาการ บิสซิโนสิส เป็นโรคที่เกิดจากการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของใยฝ้าย ป่าน ปอ และลินิน ดังนั้นอาการจึงเกิดในวันแรกที่เข้า
ทำงาน มีการแบ่งอาการของโรคหลายแบบ อาการแสดง ได้แก่ อาการของหลอดลมตีบ มีอาการหอบหืด การตรวจหน้าที่ของ
ปอดเป็นแบบอุดกั้น
โรคหอบหืดจากการทำงานชนิดอื่นๆ เกิดจากสารชีวภาพและสารเคมีที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างๆ กันสารเหล่านี้ทำให้
เกิดปฏิกิริยาในหลอดลมเช่นเดียวกับที่อธิบายไปในโรคบิสสิโนสิส การทำงานร่วมกับสารเหล่านี้จะทำลายสมรรถภาพปอด
ไปทีละน้อย ในที่สุดจะกลายเป็นโรคหอบหืดได้เร็วขึ้น
โรคภูมิไวเกินของหลอดลม เกิดจากการกระตุ้นของสารเคมี แต่เป็นแบบล่าช้าทำให้เกิดอาการภายหลังจากที่สัมผัสสารเคมี
นั้น มีความสำคัญเนื่องจากบางครั้งเมื่อสัมผัสไม่มีอาการแต่เมื่อกลับบ้านกลับไปมีอาการที่บ้านทำให้เข้าใจผิดว่าไม่ได้เกิดจาก
การทำงานหรือเกิดจากสารเคมีที่สัมผัส
โรคการระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบนจากการปะกอบอาชีพ ลักษณะการเกิดเช่นเดียวกับการเกิดหอบหืด เป็นได้ทั้งแบบ
ระคายเคืองและแบบภูมิแพ้ มีอาการแน่นจมูก คอแห้ง แสบคอ ไอ การตรวจพิสูจน์ค่อนข้างยาก การรักษาและควบคุม ป้องกัน
คล้ายกับโรคปอดจากการประกอบอาชีพอื่นๆ
อาการของการระคายเคืองและโรคทั่วไปจะคล้ายกัน ได้แก่ มีอาการเคืองตา แสบตา มีน้ำมูกไหลเจ็บคอ แต่สามารถแยกได้
จากการที่มีหลายคนเป็นพร้อมกัน ระบบระบายอากาศในที่ทำงานไม่ดี มีสารก่อภูมิแพ้ ในอาคาร มีอาการบ่อยครั้งมาก
โดยเฉพาะเมื่อทำงาน
โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ
โรคผิวหนังอักเสบการสัมผัสแบบระคายเคือง เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่พบบ่อยที่สุดในโรคผิวหนังที่เกิดจากการประกอบ
อาชีพ ลักษณะสำคัญที่จะมีอาการบริเวณที่มีการสัมผัส ได้แก่ บริเวณนอกร่มผ้า ในระยะเฉียบพลันจะมีอาการบวมแดง
อักเสบ ระยะเรื้อรังจะหนา แห้ง และแตก ดารรักษาไม่ให้มีการสัมผัสและให้ยาประเภทสเตียรอยด์
สามารถแบ่งระยะของผิวหนังอักเสบจากการระคายเคืองตามกลไกการเกิดโรคหรือความรุนแรงหรือระยะเวลาการสัมผัส
ถ้ามีการสัมผัสขนาดมากในระยะอันสั้นก็จะเป็นโรคผิวหนังอักเสบจากการระคายเคืองแบบฉับพลัน ซึ่งจะมีอาการแดง ลอก
และมีน้ำใต้ผิวหนัง แต่ถ้าสัมผัสขนาดน้อยเป็นระยะเวลานานก็จะเป็นแบบเรื้อรัง ซึ่งผิวหนังจะหนาเป็นเกร็ด
การวินิจฉัย โรคผิวหนังอักเสบสามารถวินิจฉัยจากประวัติการสัมผัส อาการแสดงนอกร่มผ้า ในบริเวณที่สัมผัส
โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสชนิดภูมิแพ้ ลักษณะการเกิดคล้ายโรคผิวหนังอักเสบแบบระคายเคืองแต่กลไกการเกิดนั้น
เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้มีอาการ อาการจะเริ่มบริเวณสัมผัสแล้วขยายลุกลามออกไป ถ้าสัมผัสบ่อยครั้ง ก็จะทำให้
เกิดโรคถาวรที่ผิวหนังได้การรักษานั้นทำได้เช่นเดียวกัน
การป้องกัน โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง ซึ่งบางครั้งเข้าใจผิดคิดว่าเป็นผื่นแพ้หรือ
ลมพิษจากสาเหตุอื่นเนื่องจากไม่ได้เกิดในบริเวณที่สัมผัส
โรคด่างขาวจากการทำงาน มีลักษณะชัดเจนคือเกิดการจางของสีผิวหนังเป็นวงมีขอบชัด ส่วนใหญ่เกิดนอกร่มผ้า กลไกการ
เกิดจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันไปทำลายเม็ดสีใต้ผิวหนังทำให้ผิวหนังมีสีจางลง เกิดจากการสัมผัสสารเคมีหรือการถูไถ เกิดได้
เฉพาะที่หรือเกิดได้ทั้งตัว
โรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพ
โรคมะเร็งปอด มีสาเหตุจากสารเคมีอนุภาคหลายชนิดได้แก่ แอสเบสตอส เรดอน คลอโรเมธินอีเธอร์ โพลีอะโรมาติก
ไฮโดรคาร์บอน อาร์เซนิก โครเมียม นิกเกิล โรคมะเร็งปอดส่วนมากจะไม่สามารถแยกโรคได้จากมะเร็งปอดที่พบในสาเหตุ
ทั่วไป อย่างไรก็ตามจากประวัติการสัมผัสทำให้สามารถวินิจฉัยว่าเกิดจากการทำงาน ประวัติที่ทำให้วินิจฉัยยากคือ ประวัติ
การสูบบุหรี่ ส่วนใหญ่เมื่อวินิจฉัยก้อนจะโตมากแล้ว และผู้ป่วยจะถึงแก่กรรมในเวลาไม่นาน
อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งปอด ทั้งจากการประกอบอาชีพและจากสาเหตุอื่นจะเหมือนกันคือมีอาการของการ
ระคายเคืองของเยื่อหุ้มปอด หลอดลม ถุงลมในปอด ทำให้มีอาการหอบเหนื่อย ไอเป็นเลือด นอกจากนี้มะเร็งปอดยังสามารถ
แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นทำให้มีอาการของอวัยวะนั้นๆ